การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด) ของ วิธีใช้:ลิงก์

หากต้องการเชื่อมโยงส่วนหรือส่วนย่อยในอีกหน้าหนึ่ง ให้ผนวกเครื่องหมาย # และชื่อส่วนต่อท้ายชื่อหน้า ดังนี้

[[ชื่อหน้า#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]

หากเชื่อมโยงในหน้าเดียวกัน คุณสามารถละชื่อหน้าและใช้

[[#ชื่อส่วน|ข้อความที่แสดง]]

สังเกตว่า ชื่อส่วน ไวต่ออักษรใหญ่เล็กทั้งหมด ซึ่งต่างจากการเชื่อมโยงบทความ ที่อักษรตัวแรกไม่ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก

แม่แบบ

ในการเชื่อมโยงไปยังส่วนเพื่อให้จัดรูปแบบด้วยสัญลักษณ์ส่วนแทน (คือ ชื่อหน้า § ชื่อส่วน ไม่ใช่ ชื่อหน้า#ชื่อส่วน) ให้ใช้แม่แบบ {{Section link}} (หรือ {{slink}}) ดังนี้

{{Section link|ชื่อหน้า|ชื่อส่วน}}

เมื่อใช้แม่แบบ จำเป็นต้องเข้ารหัสอักขระบางตัว [ ] { | } เมื่อเชื่อมโยงไปยังส่วน

[]{|}
.5B.5D.7B.7C.7D

ตัวอย่างเช่น ส่วน "คำร้องทุกข์[ที่ปิดรับแล้ว]" สามารถเชื่อมโยงได้ด้วย [[#คำร้องทุกข์.5Bที่ปิดรับแล้ว.5D]] ลิงก์ในสารบัญจะเข้ารหัสเช่นนี้อัตโนมัติฉะนั้นสามารถคัดลอกยูอาร์แอลจากลิงก์สารบัญได้ อย่างไรก็ดี ยูอาร์แอลจะยังเข้ารหัสอักขระอื่นซึ่งไม่ขัดขวางแม่แบบหรือรหัสวิกิด้วย ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจดูน่าเกลียดบ้าง

การนิยาม

ที่จริงแล้วชื่อเรื่องส่วนชี้ไปยัง "หลักยึด" ในหน้าเป้าหมาย ในคู่มือการเขียน การนิยามหลักยึดอาจน่าใช้มากกว่าชื่อเรื่องส่วนที่ระบุไว้ โดยใช้ {{Anchor|ชื่อหลักยึด}} หรืออีกทางหนึ่งใช้รหัสเอชทีเอ็มแอล <span id="anchor_name">...</span> (ดูวากยสัมพันธ์ {{Anchor}}) การเชื่อมโยงไปยังหลักยึดสามารถเพิ่มเข้ายูอาร์แอลภายนอกและลิงก์ข้ามโครงการได้โดยใช้วากยสัมพันธ์ # เช่นกัน

การเชื่อมโยงส่วนจะยังใช้การได้ผ่านชื่อหน้าซึ่งเป็นหน้าเปลี่ยนทาง ตัวอย่างเช่น ถ้าดันซิกเปลี่ยนทางไปยังกดัญสก์แล้ว ดันซิก#เมืองพี่น้อง จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "เมืองพี่น้อง" ของบทความกดัญสก์ด้วย ในทางกลับกัน ยังเป็นไปได้ที่จะใส่ลิงก์ส่วนเป็นเป้าหมายของหน้าเปลี่ยนทาง (แต่จะใช้การได้เฉพาะทางเปิดใช้งานจาวาสคริปต์) เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน]] เปลี่ยนทางมายังส่วน [[วิธีใช้:ลิงก์#การเชื่อมโยงส่วน (หลักยึด)]] ในหน้านี้ แต่เมื่อเพิ่มส่วนเข้าลิงก์ที่เปลี่ยนทาง ส่วนที่ระบุชื่อจะเขียนทับส่วนดั้งเดิมในการเปลี่ยนทาง ผลคือ [[วิกิพีเดีย:ลิงก์ส่วน#ลิงก์ข้ามโครงการ]] จะเชื่อมโยงไปยังส่วน "ลิงก์ข้ามโครงการ" ของหน้านี้แทน

ชื่อส่วนซ้ำกัน

หากในหน้าปลายทางมีมากกว่าหนึ่งส่วนใช้ชื่อเดียวกนั ลิงก์ไปยังชื่อส่วนนั้นจะไปยังส่วนแรกที่ใช้ชื่อดังกล่าว หากต้องการเชื่อมโยงไปยังอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ชื่อเดียวกันนั้น หรือชื่อที่ใช้อักษรใหญ่เล็กต่างกัน (เช่น Example และ EXAMPLE) ให้ผนวก _2, _3 ฯลฯ เข้ากับชื่อเรื่องที่เชื่อมโยง โดยนับจากบนสุดของหน้าปลายทาง โดยไม่คำนึงว่าส่วนนั้นเป็นส่วนหรือส่วนย่อย ตัวอย่างเช่น สำหรับหลายส่วนที่ใช้ชื่อว่า "ประวัติศาสตร์" อาจเชื่อมโยงเป็น "ประวัติศาสตร์", "ประวัติศาสตร์_2" (หรือ "ประวัติศาสตร์ 2") เป็นต้น

การเชื่อมโยงไปยังส่วนหนึ่งของส่วน

สามารถใช้หลักยึดเชื่อมโยงไปยังส่วนใดของส่วนหนึ่งก็ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเชื่อมโยงไปยังประโยคที่ห้าของส่วนหนึ่ง คุณสามารถใส่หลักยึดไว้ต้นประโยคดังกล่าว แล้วคุณสามารถเชื่อมโยงไปยังหลักยึดในทางเดียวกับที่คุณจะเชื่อมโยงไปหลักยึดอื่น ๆ

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องเลือกชื่อหลักยึดที่ไม่ซ้ำกันในหน้านั้น (ทั้งในบทความและหน้าคุย) และคิดว่าไม่น่าจะมีผู้ใช้ซ้ำ การเชื่อมโยงจะชี้ไปยังยังหลักยึดแรกเท่านั้น

นอกจากนี้ยังจัดวางหลักยึดไว้ที่ใดก็ได้ในประโยค และในหมายเหตุและอ้างอิง แต่ควรทดสอบในกระบะทรายก่อนลองใส่ในตำแหน่งแปลก ๆ เป็นครั้งแรก

ใกล้เคียง

วิธีใช้ วิธีกงดอร์แซ วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ วิธีการเข้าถึงหลายช่องทาง วิธีการครอส-เอนโทรปี วิธีค่าเฉลี่ยสูงสุด วิธีโดนต์ วิธีเหลือเศษสูงสุด วิธีเดลฟาย วิธีเว็บสเตอร์/แซ็งต์-ลากูว์